ตัวดำเนินการ
ตัวดำเนินการคำนวณพื้นฐาน ประกอบด้วย
สัญลักษณ์ | ตัวดำเนินการ | ตัวอย่างและความหมาย |
+ | บวก | x = a+b; นำค่า a บวกกับ b แล้วเก็บไว้ใน x |
– | ลบ | x = a-b; นำค่า a ลบด้วย b แล้วเก็บไว้ใน x |
* | คูณ | x = a*b; นำค่า a คูณกับค่า b แล้วเก็บไว้ใน x |
/ | หาร | x = a/b นำค่า a หารด้วย b ผลลัพธ์เก็บไว้ใน x |
% | หารเอาเศษ | x = a%b นำเศษจากการหาร a ด้วย b แล้วเก็บไว้ใน x |
ลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการจากมากไปหาน้อย สรุปได้ดังนี้
เครื่องหมาย | ความหมาย |
( ) | วงเล็บ |
* / % | ตัวดำเนินการ คูณ หาร และมอดูลัส |
+ – | ตัวดำเนินการบวก และลบ |
ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ ประกอบด้วย
เครื่องหมาย | ความหมาย | ตัวอย่าง |
= = | เท่ากับ | a == b |
! = | ไม่เท่ากับ | a != b |
> | มากกว่า | a > b |
> = | มากกว่าหรือเท่ากับ | a >= b |
< | น้อยกว่า | a < b |
< = | น้อยกว่าหรือเท่ากับ | a <= b |
คำสั่งเพิ่มและลดค่า
รูปแบบการเขียนคำสั่งเพื่อเพิ่มหรือลดค่าตัวแปรชนิดจำนวนเต็มทีละ 1 ในแบบย่อ โดยอาศัยตัวดำเนินการเอกภาคเพิ่มค่า ++ และดำเนินการเอกภาคลดค่า – – ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวดำเนินการเอกภาคเพิ่มค่า
int x = 4 ; x = x+1; x+=1; x++ ; |
ตัวดำเนินการเอกภาคลดค่า
int y = 8 ; y = y – 1; y -= 1; – -y ; |
แต่ละคำสั่งด้านบนจะมีผลให้ x มีค่าเพิ่มขึ้นทีละ 1 และ y มีค่าลดลงทีละ 1 ดังนั้น หลังจากประมวลผลคำสั่งข้างต้นแล้ว x และ y จำมีค่าเป็น 5 และ 7 ตามลำดับ
ตัวดำเนินการ ++ และตัวดำเนินการ – – อาจวางอยู่ด้านหลัง หรือด้านหน้าตัวแปร ดังเช่น x++ หรือ ++x เป็นต้น เมื่อวางตัวดำเนินการเอกภาคเพิ่มค่า (หรือเอกภาคลดค่า) ไว้ด้านหลังตัวแปร จะมีผลให้การเพิ่มหรือลด ค่าตัวแปรอีก 1 เกิดขึ้นหลังจากการอ้างอิงค่าตัวแปรดังกล่าวในคำสั่งเดียวกัน และเมื่อวางตัวดำเนินการเอกภาคเพิ่มค่า (หรือเอกภาคลดค่า) ไว้ด้านหน้าตัวแปร จะมีผลให้การเพิ่ม (หรือลด) ค่าตัวแปรอีก 1 เกิดขึ้นก่อนการอ้างอิงค่าตัวแปรดังกล่าวในคำสั่ง เดียวกัน
ตัวอย่างโปรแกรมเพิ่มค่าตัวแปร
#include<stdio.h> main(){ int x=8; printf(“x is %d. \n”,x); printf(“x++ is %d. \n”,x++); printf(“x is %d. \n”,x); } |
ผลลัพธ์ของโปรแกรม
x is 8 x++ is 8 x is 9 |
ตัวอย่างโปรแกรมลดค่าตัวแปร
#include<stdio.h> main(){ int x=4; printf(“x is %d. \n”,x); printf(“–x is %d. \n”,–x); printf(“x is %d. \n”,x); } |
ผลลัพธ์ของโปรแกรม
x is 4 – -x is 3 x is 3 |