รหัสควบคุมรูปแบบ (format code) ใช้สำหรับควบคุมการแสดงผลตัวแปรหรือนิพจน์ออกทาง จอภาพโดยรหัสควบคุมรูปแบบในภาษาซีมีอยู่หลายชนิดด้วยกันการเลือกนำไปใชงานต้องพิจารณาให้ เหมาะสมกับค่าของข้อมูลที่ต้องการแสดงผล ดังแสดงในตาราง
รหัสรูปแบบ (Format Code) | |
%d | พิมพ์จำนวนเต็มฐานสิบ int |
%f | พิมพ์เลขทศนิยม float |
%c | พิมพ์ตัวอักษรตัวเดียว char |
%s | พิมพ์ชุดตัวอักษร (String) |
%% | พิมพ์เครื่องหมาย % |
%o | พิมพ์เลขฐานแปด |
%x | พิมพ์เลขฐานสิบหก |
ตัวอย่างการใช้งาน (Format Code)
1.ถ้าต้องการพิมพ์ตัวเลขจำนวนเต็มทางหน้าจอจะให้รหัสควบคุม (Format Code) %d ดังนี้
printf(“%d”,x)
ถ้า x มีค่าเท่ากับ 10.5 โปรแกรมจะพิมพ์ 10 ออกมาจากหน้าจอ
2.ถ้าต้องการพิมพ์ตัวเลขจำนวนเต็มทางหน้าจอจะให้รหัสควบคุม (Format Code) %f ดังนี้
printf(“%f”,x)
ถ้า x มีค่าเท่ากับ 10.5 โปรแกรมจะพิมพ์ 10.500000 ออกมาจากหน้าจอ
*ถ้าต้องการพิมพ์ทศนิยม 2 ตำแหน่ง ต้องระบะตำแหน่ง ด้วย เช่น
printf(“%.2f”,x)
ถ้า x มีค่าเท่ากับ 10.5 โปรแกรมจะพิมพ์ 10.50 ออกมาจากหน้าจอ
3.ถ้าต้องการพิมพ์ข้อความทางหน้าจอจะให้รหัสควบคุม (Format Code) %s ดังนี้
char x[10] = ‘Debsirin’ ;
printf(“%s”,x)
ถ้า x เป็นตัวประเภทข้อความ โปรแกรมจะพิมพ์ข้อความ Debsirin ออกมาจากหน้าจอ
สรุป การเลือกใช้รหัสรูปแบบ (Format Code) ต้องใช้ให้ถูกต้องหมาะสมกับชนิดช้อมูลด้วย ดังที่ได้สรุปไว้ในว่าชนิดข้อมูลใน ควรใช้รหัสรูปแบบ Format Code ใด ดังที่ได้สรุปไว้ในหน่วยที่ 2 แล้วดังนี้
ชนิดข้อมูล | การประกาศตัวแปร | รหัสรูปแบบ |
ตัวอักขระ | char | %c |
เลขจำนวนเต็ม | int | %d |
long integer | long | %่lf |
เลขทศนิยม | float | %f |