การเลือกทำแบบ if..else
ถ้าหากในโปรแกรมมีการทำงานในลักษณะตรวจสอบเงื่อนไขแล้วเลือกทำได้สองทิศทางหรือการเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งจะใช้คำสั่ง if..else ถ้าหากเงื่อนไขเป็นจริงโปรแกรมจะทำนิพจน์หลังเงื่อนไข แต่ถ้าหากเงื่อนไขเป็นเท็จโปรแกรมจะทำนิพจน์หลัง else ถ้าหากนิพจน์มีหลายนิพจน์จะเขียนรวมไว้ในเครื่องหมายปีกกา รูปแบบของคำสั่งเป็นดังนี้
if (bool-expression) นิพจน์ทำงานเมื่อเงื่อนไขเป็นจริง
else นิพจน์ทำงานเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ
ตัวอย่างเช่น ถ้าหากในโปรแกรมมีข้อมูลอยู่ในตัวแปร a และตัวแปร b แล้วต้องการตรวจสอบว่าข้อมูลใดมีค่ามากที่สุด ถ้าหากเขียนโปรแกรมโดยใช้คำสั่ง if จะเขียนได้ดังนี้
int max; //ประกาศตัวแปร max สำหรับเก็บค่าสูงสุด
if (a > B) //ตรวจสอบว่าตัวแปร a มากกว่า b หรือไม่
max = a; //ถ้า a มากกว่าให้ max เท่ากับ a
if (a <= b) //ตรวจสอบว่าตัวแปร a น้อยกว่าหรือเท่ากับ b หรือไม่
max = b; //ถ้า a น้อยกว่าหรือเท่ากับให้ max เท่ากับ b
จะพบว่าการเขียนโปรแกรมในลักษณะนี้จะมองเป็นการเลือกทำแบบสองทิศทางได้ ถ้าหากนำคำสั่ง if..else มาใช้โดยตรวจสอบว่าถ้า a มากกว่า b ให้ max เท่ากับ a แต่ถ้าไม่มากกว่าก็ให้ max เท่ากับ b ซึ่งเขียนคำสั่งได้ดังนี้
int max;
if (a > B) //ตรวจสอบว่าตัวแปร a มากกว่า b จริงหรือไม่
max = a; //ถ้าจริงให้ max เท่ากับ a
else
max = b; //ถ้า a ไม่มากกว่า b ให้ max เท่ากับ b
สาธิตการเขียนโปรแกรมโดยใช้คำสั่ง if else